วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นวัตกรรมทางการศึกษาเก่า ที่ล้ำสมัยเสมอ



ในขณะที่ทั่วโลกมีการตื่นตัวในนวัตกรรมทางการศึกษา มีการคิดเครื่องมือและเทคโนโลยี ใหม่ๆขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการที่ไม่รู้จบของมนุษย์ มนุษย์กลับลืมไปว่านวัตกรรมที่ไม่มีวันเก่าและล้าสมัย นั่นคือ นวัตกรรมที่พระเจ้า ประทานมาให้คือหนึ่งสมองและสองมือ หรือ ธรรมของชาวพุทธ ที่สำคัญคือ ท่านศึกษาวิธีใช้เครื่องมือที่ยิ่งใหญ่นั้นอย่างเพียงพอหรือยัง?
ยกตัวอย่าง พ่อแม่สามารถตัดก้านกล้วยมาทำม้าก้านกล้วยให้ลูก เมื่อลูกเบื่อก็สามารถนำมาสานปลาตะเพียน สามารถหยิบกระดาษรีไซเคิลมาพับจรวด มาพับเรือพับกบ สามารถเก็นก้อนหินหน้าบานมาเล่นหมากเก็บ สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้ว และพร้อมจะแตกยอดออกไปเสมอตราบใดที่ผู้ใช้รู้จัก พลิกแพลง หาวิธีการใหม่ๆ นั่นคิดความคิดสร้างสรร
หลายครั้งพ่อ แม่ เสียเงินซื้อนวัตกรรมใหม่ๆ ราคาแพงมาให้ลูกตนเอง และหวังว่านวัตกรรมนั้นจะสอนทุกอย่าง แก่ลูกตัวเอง เช่น คอมพิวเตอร์ต้องเป็นรุ่นที่มีความเร็วสูง สามารถรองรับโปรแกรมรุ่นใหม่ จอต้องใหญ่ เสียงต้องดี ต้องแลกด้วย เงินจำนวนมาก สายตาของเด็กที่อาจสั้นก่อนวัยอันควร การสอนให้เด็กหาความสุขจากสังคมเสมือน สิ่งต่างๆเหล่านี้คุ้มหรือไม่ กับเด็กในอดีต ที่พ่อแม่พาไปเล่นกองทรายหน้าบ้าน ได้ฝึกจินตนาการว่าจะใช้ทรายที่มีทำอะไร ทรายที่มีนั้นมีข้อจำกัดอะไรบ้าง เรียนรู้มิติสัมพันธ์ ความเร็วของทรายระหว่างที่เทลงบนพื้น และอื่นๆ สิ่งที่ได้นอกเหนือจากนั้นคือการเล่นอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ทรายเข้าตา ไม่ให้เสื้อผ้าเลอะ รู็จักล้างมือหลังจากเล่น และการเล่นจะยิ่งสำริดผลเท่าทวีคุณเมื่อมีเพื่อนมาเล่นด้วย ได้รู็จักการเข้าสังคม รู้จักการแบ่งปัน ได้ทักษะการควบคุมอารมณ์การเข้าสังคม สิ่งต่างๆเหล่านี้อาจได้มาโดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท ... ท่านลืมอะไรไป เป็นสิ่งที่ผู้เขียนอยากถาม
อยากให้ท่านลองคิดอย่างจริงจัง ว่าสมัยท่านผู้อ่านยังเป็นเด็กนั้น ท่านมีความสุขกับอะไร ของเล่นชนิดไหน หรือเล่นกับใคร แล้วท่านเคยเห็นเด็กที่มีของเล่นราคาแพง ทันสมัย แต่ไม่มีพ่อแม่เล่นด้วย เพราะพ่อแม่ต้องหาเงินเพื่อนำเงินที่ได้มาแลกนวัตกรรมรุ่นใหม่จากต่างประเทศ ท่านต้องการแบบนั้นหรือไม่
เชื่อว่าคำตอบของทุกคนคงไม่ต่างกัน แล้ววันนี้ท่านใช้สิ่งที่ท่านมีหรือยังหรือไขว่คว้าสิ่งที่ท่านจินตนาการว่ามันดีทั้งๆที่ทุกคนมีไม่ว่าคนคนนั้นจะยากดีมีจนอย่างไรก็ตาม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น