วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการสอนภาษาแบบธรรมชาติ


นวัตกรรมการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
(Whole Language)
ดร.วรนาท รักสกุลไทย
โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล
เนื่องด้วยในปัจจุบันการสอนภาษาให้แก่เด็กนักเรียนระดับอนุบาลศึกษา มีปัญหาและข้อขัดแย้งต่างๆ หลายประการ ทั้งในด้านปรัชญา ทฤษฎี หลักการและแนวปฏิบัติ ตลอดจนความกดดันที่โรงเรียนอนุบาลได้รับจากกระแสความต้องการด้านการเร่งรัด อ่าน – เขียน ของผู้ปกครองจนกระทั่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาทางการศึกษาระดับชาติที่มีความวิกฤติ ควรได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วนดังนั้น ผู้เขียนจึงใคร่ขอนำเสนอบทความนี้ในฐานะนักวิชาการและนักปฏิบัติที่ทำงานควบคู่กันไปกับกลุ่มชมรมพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยปวงชน เพื่อสะท้อนนวัตกรรมสอนภาษาในอีกแนวทางหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยและทดลองใช้ในประเทศไทยมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วว่าสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาได้อย่างเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมวัฒนธรรม ประการสำคัญเด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ไม่เบื่อหน่ายเพราะถูกบังคับให้อ่านเขียนและท่องจำตลอดเวลา โดยผู้เขียนจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หัวข้อ ประกอบด้วย

1. ความเป็นมา ความหมาย และความสำคัญ

2. ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง

3. ตัวอย่างการประยุกต์ ทฤษฎีและหลักการในระดับห้องเรียน

4. งานวิจัยในประเทศไทย

ซึ่งในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียด ดังนี้
1. ความเป็นมา ความหมาย และความสำคัญ
1.1 ความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของการสอนแบบธรรมชาติ มีรากเหง้าจากต่างประเทศเริ่มต้นศตวรรษที่ 16 เกิดจากความเคลื่อนไหวของกลุ่มครู ผู้บริหาร นักการศึกษาและนักวิจัย ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ตระหนักถึงความรู้ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวที่ทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษาแบบองค์รวม คือ ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน ซึ่งในขณะนี้การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีใช้ในประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนาดาเป็นต้น 2
สำหรับประเทศไทย การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีความเป็นมาเช่นเดียวกับในต่างประเทศคือ จากความต้องการที่จะแก้ปัญหาของการสอนภาษาแบบปกติหรือแบบเก่าที่เน้นการแจกลูกสะกด-คำ จนกระทั่งทำให้การเรียนภาษาเป็น สิ่งที่น่าเบื่อหน่าย โดยเฉพาะในระดับอนุบาล เด็กได้รับความกดดันเกิดความเครียด นักวิชาการศึกษาปฐมวัยกลุ่มหนึ่งจึงรวมตัวกันศึกษาทฤษฎีหลักการและผลงานวิจัย ตลอดจนการศึกษาดูงานในต่างประเทศ และในปีพ.ศ. 2538 – 2539 มูลนิธิชมรมไทยอิสราเอล ได้เชิญวิทยากรจากต่างประเทศมาอบรมเชิงปฏิบัติการเวลาติดต่อกันหลายปี ทำให้มีผู้สนใจนำไปใช้ในวงกว้างกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
1.2 ความหมาย
ถึงแม้ว่าแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติจะพัฒนามาได้ไม่นาน แต่ในทศวรรษที่ผ่านมาหลายประเทศก็ได้นำแนวการสอนนี้ไปใช้ และได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นแนวการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพราะมีความสอดคล้องกับความต้องการในการเรียนรู้และความสนใจของเด็ก(บุษบาตันติวงศ์,2536) และเป็นการพัฒนาภาษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะเกิดผลดีในระยะยาว (ฉันทนาภาคบงกช, ม.ป.ป.) นอกจากนี้ การสอนภาษาแบบธรรมชาติยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาการรู้หนังสือขั้นต้น (Early Literacy) ให้แก่เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กที่มาจากครอบครัวรายได้น้อยหรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ เป็นการป้องกันความล้มเหลวในระบบการศึกษาอีกด้วย (Bredekamp -Copple (Ed.), 1997 )
2. ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
เคนเน็ท กูดแมน (K. Goodman,1986) กล่าวว่า การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีความเป็นมาจากทฤษฎีทางภาษาและทฤษฎีทางการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่บุษบง ตันติวงศ์ วิเคราะห์ว่าการสอนภาษาแบบธรรมชาติมีทฤษฎีพื้นฐาน 3 ทฤษฎี ประกอบด้วย (1) ทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา (2) ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และ (3) ทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา (บุษบา ตันติวงศ์, 2536) โดยเฉพาะทฤษฎีที่ 2 กูดแมน (Yetta M.Gookman,1989) กล่าวว่าเด็กต้องการที่ใช้ภาษาในการแก้ปัญหาที่มีความสำคัญและมีความหมายต่อชีวิตประจำวันของตน
สำหรับทฤษฎีทางการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อแนวการสอนนี้ประกอบด้วย เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ (Dewey) เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง (Piaget) เช่นเดียวกับไวกอตสกี้ (Vygotsky) กล่าวว่า อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กและฮัลลิเดย์(Haliday) กล่าวว่าบริบท (Context) มีส่วนสำคัญในการเรียนรู้ภาษา จึงสรุปได้ว่าการสอนภาษาแบบ3
ธรรมชาติเกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงและสูงสุดกับผู้เรียน
จากทฤษฎีต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนมีอิทธิพลต่อหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนั้นนฤมน เนียมหอม (2540) จึงได้สรุปหลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้นไว้ดังนี้
1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย
2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสที่จะอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ โดยที่ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และจะต้องให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่านหรือช่วงเวลาใดต้องเขียน
3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูจะต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆ ให้เด็กเห็น เช่น เพื่อการสื่อสารเพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน
4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรจะเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน
5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมติฐานเบื้องต้นของตนและมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน ไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่ 4
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่าจะยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ อาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น
7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กว่าเด็กจะเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูจะต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กจะต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนเพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้จะไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กจะต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กเพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้
3. ตัวอย่างการประยุกต์ทฤษฎีและหลักการการสอนภาษาแบบธรรมชาติในระดับห้องเรียน
เป็นที่ยอมรับแล้วว่าครูเป็นบุคคลสำคัญในการจัดการเรียนการสอนถึงแม้ว่าการศึกษาจะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแต่อย่างไรก็ตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของครูกลับยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะบทบาทที่เปลี่ยนไปจาก “ ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ ” เป็น “ ผู้อำนวยความสะดวก ” นี้ครูต้องยอมรับความเป็น “ ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ ( Co-Learner )” ไปพร้อมๆ กับเด็ก ดังนั้นครูที่จะประยุกต์ใช้การสอนภาษาแบบธรรมชาติ จึงมีบทบาทดังนี้ (นิรมล ช่างวัฒนชัย, 2541)

1. ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

2. ครูหวังในเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน

3. ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน

4. ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก

1 ความคิดเห็น:

paoloabbasi กล่าวว่า...

Iron and titanium tube - Baojititanium
Iron 토토 사이트 코드 and titanium tube · Iron and titanium tube · Iron and titanium tube · Iron and titanium communitykhabar tube dafabet · Iron and 바카라 배팅 법 titanium tube titanium wire · Iron and titanium

แสดงความคิดเห็น