วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ขำ


่า

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นวัตกรรมทางการศึกษาเก่า ที่ล้ำสมัยเสมอ



ในขณะที่ทั่วโลกมีการตื่นตัวในนวัตกรรมทางการศึกษา มีการคิดเครื่องมือและเทคโนโลยี ใหม่ๆขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการที่ไม่รู้จบของมนุษย์ มนุษย์กลับลืมไปว่านวัตกรรมที่ไม่มีวันเก่าและล้าสมัย นั่นคือ นวัตกรรมที่พระเจ้า ประทานมาให้คือหนึ่งสมองและสองมือ หรือ ธรรมของชาวพุทธ ที่สำคัญคือ ท่านศึกษาวิธีใช้เครื่องมือที่ยิ่งใหญ่นั้นอย่างเพียงพอหรือยัง?
ยกตัวอย่าง พ่อแม่สามารถตัดก้านกล้วยมาทำม้าก้านกล้วยให้ลูก เมื่อลูกเบื่อก็สามารถนำมาสานปลาตะเพียน สามารถหยิบกระดาษรีไซเคิลมาพับจรวด มาพับเรือพับกบ สามารถเก็นก้อนหินหน้าบานมาเล่นหมากเก็บ สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้ว และพร้อมจะแตกยอดออกไปเสมอตราบใดที่ผู้ใช้รู้จัก พลิกแพลง หาวิธีการใหม่ๆ นั่นคิดความคิดสร้างสรร
หลายครั้งพ่อ แม่ เสียเงินซื้อนวัตกรรมใหม่ๆ ราคาแพงมาให้ลูกตนเอง และหวังว่านวัตกรรมนั้นจะสอนทุกอย่าง แก่ลูกตัวเอง เช่น คอมพิวเตอร์ต้องเป็นรุ่นที่มีความเร็วสูง สามารถรองรับโปรแกรมรุ่นใหม่ จอต้องใหญ่ เสียงต้องดี ต้องแลกด้วย เงินจำนวนมาก สายตาของเด็กที่อาจสั้นก่อนวัยอันควร การสอนให้เด็กหาความสุขจากสังคมเสมือน สิ่งต่างๆเหล่านี้คุ้มหรือไม่ กับเด็กในอดีต ที่พ่อแม่พาไปเล่นกองทรายหน้าบ้าน ได้ฝึกจินตนาการว่าจะใช้ทรายที่มีทำอะไร ทรายที่มีนั้นมีข้อจำกัดอะไรบ้าง เรียนรู้มิติสัมพันธ์ ความเร็วของทรายระหว่างที่เทลงบนพื้น และอื่นๆ สิ่งที่ได้นอกเหนือจากนั้นคือการเล่นอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ทรายเข้าตา ไม่ให้เสื้อผ้าเลอะ รู็จักล้างมือหลังจากเล่น และการเล่นจะยิ่งสำริดผลเท่าทวีคุณเมื่อมีเพื่อนมาเล่นด้วย ได้รู็จักการเข้าสังคม รู้จักการแบ่งปัน ได้ทักษะการควบคุมอารมณ์การเข้าสังคม สิ่งต่างๆเหล่านี้อาจได้มาโดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท ... ท่านลืมอะไรไป เป็นสิ่งที่ผู้เขียนอยากถาม
อยากให้ท่านลองคิดอย่างจริงจัง ว่าสมัยท่านผู้อ่านยังเป็นเด็กนั้น ท่านมีความสุขกับอะไร ของเล่นชนิดไหน หรือเล่นกับใคร แล้วท่านเคยเห็นเด็กที่มีของเล่นราคาแพง ทันสมัย แต่ไม่มีพ่อแม่เล่นด้วย เพราะพ่อแม่ต้องหาเงินเพื่อนำเงินที่ได้มาแลกนวัตกรรมรุ่นใหม่จากต่างประเทศ ท่านต้องการแบบนั้นหรือไม่
เชื่อว่าคำตอบของทุกคนคงไม่ต่างกัน แล้ววันนี้ท่านใช้สิ่งที่ท่านมีหรือยังหรือไขว่คว้าสิ่งที่ท่านจินตนาการว่ามันดีทั้งๆที่ทุกคนมีไม่ว่าคนคนนั้นจะยากดีมีจนอย่างไรก็ตาม

นวัตกรรมการสอนภาษาแบบธรรมชาติ


นวัตกรรมการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
(Whole Language)
ดร.วรนาท รักสกุลไทย
โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล
เนื่องด้วยในปัจจุบันการสอนภาษาให้แก่เด็กนักเรียนระดับอนุบาลศึกษา มีปัญหาและข้อขัดแย้งต่างๆ หลายประการ ทั้งในด้านปรัชญา ทฤษฎี หลักการและแนวปฏิบัติ ตลอดจนความกดดันที่โรงเรียนอนุบาลได้รับจากกระแสความต้องการด้านการเร่งรัด อ่าน – เขียน ของผู้ปกครองจนกระทั่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาทางการศึกษาระดับชาติที่มีความวิกฤติ ควรได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วนดังนั้น ผู้เขียนจึงใคร่ขอนำเสนอบทความนี้ในฐานะนักวิชาการและนักปฏิบัติที่ทำงานควบคู่กันไปกับกลุ่มชมรมพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยปวงชน เพื่อสะท้อนนวัตกรรมสอนภาษาในอีกแนวทางหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยและทดลองใช้ในประเทศไทยมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วว่าสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาได้อย่างเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมวัฒนธรรม ประการสำคัญเด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ไม่เบื่อหน่ายเพราะถูกบังคับให้อ่านเขียนและท่องจำตลอดเวลา โดยผู้เขียนจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หัวข้อ ประกอบด้วย

1. ความเป็นมา ความหมาย และความสำคัญ

2. ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง

3. ตัวอย่างการประยุกต์ ทฤษฎีและหลักการในระดับห้องเรียน

4. งานวิจัยในประเทศไทย

ซึ่งในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียด ดังนี้
1. ความเป็นมา ความหมาย และความสำคัญ
1.1 ความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของการสอนแบบธรรมชาติ มีรากเหง้าจากต่างประเทศเริ่มต้นศตวรรษที่ 16 เกิดจากความเคลื่อนไหวของกลุ่มครู ผู้บริหาร นักการศึกษาและนักวิจัย ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ตระหนักถึงความรู้ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวที่ทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษาแบบองค์รวม คือ ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน ซึ่งในขณะนี้การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีใช้ในประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนาดาเป็นต้น 2
สำหรับประเทศไทย การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีความเป็นมาเช่นเดียวกับในต่างประเทศคือ จากความต้องการที่จะแก้ปัญหาของการสอนภาษาแบบปกติหรือแบบเก่าที่เน้นการแจกลูกสะกด-คำ จนกระทั่งทำให้การเรียนภาษาเป็น สิ่งที่น่าเบื่อหน่าย โดยเฉพาะในระดับอนุบาล เด็กได้รับความกดดันเกิดความเครียด นักวิชาการศึกษาปฐมวัยกลุ่มหนึ่งจึงรวมตัวกันศึกษาทฤษฎีหลักการและผลงานวิจัย ตลอดจนการศึกษาดูงานในต่างประเทศ และในปีพ.ศ. 2538 – 2539 มูลนิธิชมรมไทยอิสราเอล ได้เชิญวิทยากรจากต่างประเทศมาอบรมเชิงปฏิบัติการเวลาติดต่อกันหลายปี ทำให้มีผู้สนใจนำไปใช้ในวงกว้างกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
1.2 ความหมาย
ถึงแม้ว่าแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติจะพัฒนามาได้ไม่นาน แต่ในทศวรรษที่ผ่านมาหลายประเทศก็ได้นำแนวการสอนนี้ไปใช้ และได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นแนวการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพราะมีความสอดคล้องกับความต้องการในการเรียนรู้และความสนใจของเด็ก(บุษบาตันติวงศ์,2536) และเป็นการพัฒนาภาษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะเกิดผลดีในระยะยาว (ฉันทนาภาคบงกช, ม.ป.ป.) นอกจากนี้ การสอนภาษาแบบธรรมชาติยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาการรู้หนังสือขั้นต้น (Early Literacy) ให้แก่เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กที่มาจากครอบครัวรายได้น้อยหรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ เป็นการป้องกันความล้มเหลวในระบบการศึกษาอีกด้วย (Bredekamp -Copple (Ed.), 1997 )
2. ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
เคนเน็ท กูดแมน (K. Goodman,1986) กล่าวว่า การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีความเป็นมาจากทฤษฎีทางภาษาและทฤษฎีทางการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่บุษบง ตันติวงศ์ วิเคราะห์ว่าการสอนภาษาแบบธรรมชาติมีทฤษฎีพื้นฐาน 3 ทฤษฎี ประกอบด้วย (1) ทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา (2) ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และ (3) ทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา (บุษบา ตันติวงศ์, 2536) โดยเฉพาะทฤษฎีที่ 2 กูดแมน (Yetta M.Gookman,1989) กล่าวว่าเด็กต้องการที่ใช้ภาษาในการแก้ปัญหาที่มีความสำคัญและมีความหมายต่อชีวิตประจำวันของตน
สำหรับทฤษฎีทางการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อแนวการสอนนี้ประกอบด้วย เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ (Dewey) เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง (Piaget) เช่นเดียวกับไวกอตสกี้ (Vygotsky) กล่าวว่า อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กและฮัลลิเดย์(Haliday) กล่าวว่าบริบท (Context) มีส่วนสำคัญในการเรียนรู้ภาษา จึงสรุปได้ว่าการสอนภาษาแบบ3
ธรรมชาติเกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงและสูงสุดกับผู้เรียน
จากทฤษฎีต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนมีอิทธิพลต่อหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนั้นนฤมน เนียมหอม (2540) จึงได้สรุปหลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้นไว้ดังนี้
1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย
2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสที่จะอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ โดยที่ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และจะต้องให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่านหรือช่วงเวลาใดต้องเขียน
3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูจะต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆ ให้เด็กเห็น เช่น เพื่อการสื่อสารเพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน
4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรจะเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน
5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมติฐานเบื้องต้นของตนและมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน ไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่ 4
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่าจะยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ อาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น
7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กว่าเด็กจะเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูจะต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กจะต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนเพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้จะไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กจะต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กเพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้
3. ตัวอย่างการประยุกต์ทฤษฎีและหลักการการสอนภาษาแบบธรรมชาติในระดับห้องเรียน
เป็นที่ยอมรับแล้วว่าครูเป็นบุคคลสำคัญในการจัดการเรียนการสอนถึงแม้ว่าการศึกษาจะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแต่อย่างไรก็ตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของครูกลับยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะบทบาทที่เปลี่ยนไปจาก “ ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ ” เป็น “ ผู้อำนวยความสะดวก ” นี้ครูต้องยอมรับความเป็น “ ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ ( Co-Learner )” ไปพร้อมๆ กับเด็ก ดังนั้นครูที่จะประยุกต์ใช้การสอนภาษาแบบธรรมชาติ จึงมีบทบาทดังนี้ (นิรมล ช่างวัฒนชัย, 2541)

1. ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

2. ครูหวังในเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน

3. ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน

4. ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

E Book ห้องสมุดย่อส่วน


E-Book


e-book คือ
"หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมาย รวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป

รูปแบบของ e-book
รูปแบบสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง เช่น ซีดีรอม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษรทั้งลักษณะภาพดิจิตอล ภาพแอนิเมชั่น วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่น ๆ
รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์และการเข้าเล่ม
รูปแบบของหนังสือที่สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ลงไปจัดเก็บลงในเครื่อง palm ทำให้สามารถที่จะพกพาหนังสือหรือเอกสารจำนวนมากไปอ่าน ณ ที่ใดก็ได้ เพียงแต่นำเครื่อง palm ติดตัวไปเพียงเครื่องเดียว

รูปแบบไฟล์ของ e-book
HTML (Hyperte Markup Language) สามารถคัดลอกมาแก้ใขดัดแปลงได้
XML (Extensive Markup Language)?
PDF (Portable Document Format)ไม่สามารถคัดลอกข้อมูลได้ เพราะสร้างแบบการคัดลอกจากหนังสือจริง(แสกนมา) ต้องใช้โปรแกรมช่วยดาวโลด์ในการอ่าน (adobe)
PML (Peanut Markup Language)?

การศึกษาไร้พรหมแดน E- Learning



e-Learning คืออะไร ::

คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัว


ชื่อ นายกิตตินภา วัฒนศักดิ์
ชื่อเล่น โรม
อายุ 34
เกิด 20 05 2519
ทำงาน โรงเรียนอนุบาลบ้านคุณหนู
360 ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทร 044243021 มือถือ 0840374462